กฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารจัดการ

การประยุกต์ใช้ Competency ในการบริหาร
กันยายน 9, 2019
5ส-Thebest Training
Effective 5S & Implementation Strategy
กันยายน 11, 2019
การประยุกต์ใช้ Competency ในการบริหาร
กันยายน 9, 2019
5ส-Thebest Training
Effective 5S & Implementation Strategy
กันยายน 11, 2019

กฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารจัดการ

การใช้กฎหมายแรงงานเ นับเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกัน การป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาท การส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ดังนั้นการเข้าใจหลักของกฎหมายแรงงานเพื่อนำไปบริหารจัดการแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร จะเป็นกุญแจสำคัญให้นายจ้างกับลูกจ้างทำงานด้วยกันได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

Labor Law for Management

กฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารจัดการ

 

วิทยากร  

อาจารย์ศักดิ์ดา ภูมิพันธุ์

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Organization Development, Human Resource Management, Human Resource Development, Strategic Planning,
Process Improvement, Coaching & Feedback, Supervisory Skill, etc.

หลักการและเหตุผล

         กฎหมายแรงงาน (Labor Law) หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของ นายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรของนายจ้างและองค์การของลูกจ้าง  รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้างและองค์การดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและต่อรัฐ  ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน การใช้แรงงาน การประกอบกิจการและความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม

         การใช้กฎหมายแรงงานเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการพนักงานในองค์กร นับเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกัน การป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาท หรือการส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ดังนั้นการเข้าใจหลักของกฎหมายแรงงานเพื่อนำไปบริหารจัดการแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร จะเป็นกุญแจสำคัญให้นายจ้างกับลูกจ้างทำงานด้วยกันได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

วัตถุประสงค์

1. ได้รู้ทราบถึงข้อมูลจริงของสถิติคดีศาลแรงงานปีล่าสุด และสรุปวิเคราะห์ ตัวชี้วัดสำคัญต่างๆ จากรายงานประจำปีของหน่วยงานรัฐ

2. ได้เข้าใจ พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ประเด็นอ่อนไหว / จุดที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และฎีกาด้านแรงงานที่นายจ้างมักถูกฟ้องร้อง

3. ได้รู้พฤติกรรม และ สถานการณ์ที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ รวมถึงสัญณาณจากลูกน้องที่หัวหน้างานต้องใส่ใจ

4. ได้เข้าใจการบริหารจัดแรงงานสัมพันธ์และวินัยพนักงาน การส่งเสริมอำนาจบุคคลโดยอิทธิพลเชิงบวก และเทคนิคการบริหารจัดการพนักงานเจ้าปัญหา

5. ได้ลงมือปฏิบัติการวิเคราะห์กรณีศึกษา การหาทางเลือกในการแก้ไขข้อพิพาท และการประเมินสถานการณ์ส่วนบุคคลของแต่ละองค์กร      

 

กลุ่มเป้าหมาย

เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง  ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน

 

เนื้อหาหลักสูตร

 

Session 1    : 9.00-10.30 น.

1. Situation : เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร / เมื่อเรื่องถึงโรงถึงศาล

– รายงานประจำปี 2558 : สถิติคดีศาลแรงงาน ภาค 1-9 ปี

– สรุปวิเคราะห์ข้อมูลจากคดีจริงระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง

 

2. Principle : กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคน

– พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๓)

– ประเด็นอ่อนไหว / จุดที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

กรณีตัวอย่างและ Workshop : ฏีกาด้านแรงงานที่นายจ้างมักถูกฟ้องร้อง

 

Break         : 10.30-10.45 น.

Session 2  : 10.45-12.00 น.

 

3. Measurement : เครื่องมือประเมินสถานการณ์ / วัดความรู้สึกของพนักงาน

– พฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างฝ่ายนายจ้าง กับพนักงาน

– สถานการณ์ที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์

– สัญญานสำคัญจากลูกน้องที่หัวหน้างานละเลยไม่ได้

 

Lunch          : 12.00-13.00 น.

Session 3   : 13.00-14.30 น.

 

4. Carrot & Stick : การบริหารจัดแรงงานสัมพันธ์และวินัยพนักงาน

– แรงงานสัมพันธ์ : แนวกั้นระหว่างพนักงานกับกฎหมายแรงงาน

– กลยุทธ์ส่งเสริมอำนาจบุคคล และอิทธิพลเชิงบวก

– เทคนิคการบริหารจัดการพนักงานเจ้าปัญหา 10 ประเภท

กรณีตัวอย่าง และ Workshop : ด้านแรงงานสัมพันธ์กับกฎหมายแรงงาน

 

Break          : 14.30-14.45 น.

Session 4   : 14.45-16.00 น.

 

5. Handle : กรณีศึกษา/ลงมือทำ

– ประเมินตัวเอง/หน่วยงาน : Self Assesment

– กรณีตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง : ผลกระทบจากการตัดสินใจของคณะกรรมการ

– การวิเคราะห์กรณีศึกษา / การหาทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหา

กรณีตัวอย่าง และ Workshop : วิเคราะห์และศึกษาประเด็นอ่อนไหวที่เคยเกิดขึ้นในองค์กร

 

6. Q & A : แลกเปลี่ยนเรียนรู้

– ตอบคำถามและให้คำปรึกษาเชิงลึก กรณีจริงจากผู้เข้าอบรม 

– แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมได้รับ

1. ทราบถึงข้อมูลจริงของสถิติคดีศาลแรงงานปีล่าสุด และสรุปวิเคราะห์ ตัวชี้วัดสำคัญต่างๆ จากรายงานประจำปีของหน่วยงานรัฐ

2. เข้าใจ พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ประเด็นอ่อนไหว / จุดที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และฎีกาด้านแรงงานที่นายจ้างมักถูกฟ้องร้อง

3. รู้พฤติกรรม และ สถานการณ์ที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ รวมถึงสัญณาณจากลูกน้องที่หัวหน้างานต้องใส่ใจ

4. เข้าใจการบริหารจัดแรงงานสัมพันธ์และวินัยพนักงาน การส่งเสริมอำนาจบุคคลโดยอิทธิพลเชิงบวก และ เทคนิคการบริหารจัดการพนักงานเจ้าปัญหา

5. เกิดทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์ หาทางเลือกในการแก้ไขข้อพิพาท และประเมินสถานการณ์ส่วนบุคคลของแต่ละองค์กรได้  

 

รูปแบบการฝึกอบรม

การฝึกอบรมมีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย เพลิดเพลิน โดยมีความลึกซึ้งเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ยอมรับ และนำไปปฏิบัติตาม อีกทั้งตรงตามเป้าหมายที่ทางองค์กรได้กำหนดไว้ 

1. การบรรยายแบบผู้อบรมมีส่วนร่วม Participative Technique

2. ฝึกปฏิบัติทีละขั้นตอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับท่านอื่นๆ (Work Shop)

3. วิทยากรกระตุ้นให้ความคิดและให้มีส่วนร่วมในการฝึกอบรม

4. แสดงการสาธิตจำลองให้เกิดการพัฒนา (Adult Learning Approach Role Playing)

 

ระยะเวลาการจัดสัมมนา

เพื่อให้ครอบคลุม ถึงเนื้อหาสาระของเนื้อหาทางวิชาการ และ Workshop อบรม 1 วันเต็ม

 

สนใจหลักสูตรฝึกอบรมสัมมนาหรือจัดกิจกรรม 

สถาบันฝึกอบรมสัมมนา The Best Training (ศูนย์ฝึกอบรมความเป็นเลิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ)
77/291 ซอยพหลโยธิน 54/1แยก4-45 (หมู่บ้านชลลดา) แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220

 

ติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 

 02-043-5605, 081-3582683, 081-6285569, 081-8082683

 thebesttraining5.0@gmail.com