Problem Solving-thebest-trainng
Problem Solving & Decision Making
สิงหาคม 15, 2019
Conflict Management for Excellence-thebest-trainings
Conflict Management for Excellence
สิงหาคม 16, 2019
Problem Solving-thebest-trainng
Problem Solving & Decision Making
สิงหาคม 15, 2019
Conflict Management for Excellence-thebest-trainings
Conflict Management for Excellence
สิงหาคม 16, 2019

Strategic Management: KPIs-Based

การกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในการกำหนด KPIs เชิงกลยุทธ์ การติดตามและประเมินผลงาน เพิ่มประสิทธิผลของงานและเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Strategic Management: KPIs-Based

การบริหารเชิงกลยุทธ์บนพื้นฐาน ตัวชี้วัด KPIs

 

วิทยากร

อาจารย์ชัยวัฒน์ วงศ์ธีรทรัพย์

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Sale and Marketing Strategy, Customer Relation Management (CRM), High Impact Communication, Modern Business Management, Knowledge Management (KM), Change Management, Human Resource Development (HRD),Team Building, etc.

 

หลักการและเหตุผล 

           ปัจจุบันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategy Management) มีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและศักยภาพขององค์กร  ในสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  องค์กรต่างๆได้ให้ความสำคัญในการพัฒนา และนำเครื่องมือต่างๆมาใช้ในการบริหาร เช่น Balanced Scorecard,  KPI,  Six-sigma,  Lean Manufacturing เป็นต้น ข้อจำกัดและหรือการประยุกต์ใช้นั้นยังคงเกิดขึ้นในหลายๆภาคส่วนและทำให้ประสิทธิภาพในองค์กรสวนทางกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการบริหารงาน  ความสำคัญของการการค้นหาและกำหนดตัวชี้วัดเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ และภารกิจต่างๆขององค์กร  เมื่อมีการกำหนดตัวชี้วัดในระดับบุคคลแล้วนั้น การมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆองค์กร  ดังนั้นการใช้เครื่องมือและแปลงไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆควรให้ความสำคัญและสร้างความเหมาะสมกับองค์กรอย่างยั่งยืน

         สถาบันฝึกอบรม The Best Training (ศูนย์ฝึกอบรมความเป็นเลิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ) ได้จัดหลักสูตร “Strategic Management: KPIs-Based การบริหารเชิงกลยุทธ์บนพื้นฐาน ตัวชี้วัด KPIs” เพื่อให้ท่านหรือบุคลากรในองค์กรของท่าน และผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรม SME นำไปประยุกต์ใช้ ได้อย่างมั่นใจ เข้าใจและมีความเชื่อมั่นใน การค้นหาและกำหนดตัวชี้วัดอย่างง่าย ที่สามารถทำให้ องค์กรของท่านประยุกต์ใช้และมีการก้าวเดินสู่ความยั่งยืนในทิศทางเดียวกันผ่านกลไกการประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

เนื้อหาหลักสูตร

 

Session 1  9:00-10:30 น.

1. แนวคิดทำไมต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด
วัตถุประสงค์ในการบรรยาย :
– เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจความสำคัญของการกำหนดตัวชี้วัด และมีความสำคัญอย่างไรต่อผู้ปฏิบัติงานและองค์กรและมีความสอดคล้องกันอย่างไร อุปสรรคที่เกิดขึ้นมีอะไรเป็นปัจจัยและจะก้าวข้ามอย่างไร

เนื้อหาในการบรรยาย :
– การกำหนดตัวชี้วัด ระดับองค์กร ระดับฝ่ายและผู้ปฏิบัติการ ปัญหาการกำหนดตัวชี้วัดที่ไม่มีประสิทธิภาพ

 

2. ความรู้ ความเข้าใจการจัดการเชิงกลยุทธ์
วัตถุประสงค์ในการบรรยาย :
– เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในภาพรวมของการบริหารงานเชิงกลยุทธ์แบบบูรณาการ มีมุมมองอย่างไรมีการใช้เครื่องมืออย่างไรในการบริหารและการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม

เนื้อหาในการบรรยาย :
– แนวทางในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
– กลยุทธ์ต่างๆขององค์กร
– วิสัยทัศน์ขององค์กร พันธกิจขององค์กร
– เป้าหมายองค์กร วัตถุประสงค์องค์กร
– การใช้เครื่องมือต่างๆในการบริหาร
– SWOT Analysis
– Balanced Scorecard
– Key Performance Indicators

 

Break          : 10.30-10.45 น.
Session 2   : 10:45-12:00 น.

 

3. ประยุกต์ใช้ Key Performance Indicators (KPI) 
วัตถุประสงค์ในการบรรยายและกิจกรรม :
– เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการของการกำหนดตัวชี้วัดและมีแนวทางในการค้นหาและกำหนดอย่างไร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เข้าใจในหลักการและการนำไปปฏิบัติ ทั้งในระดับองค์กร ในระดับฝ่าย และในระดับบุคคลซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ และเข้าใจ ในหลักการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล และความหมายของตัวชี้วัด พร้อมการวิเคราะห์ตัวชี้วัด

กิจกรรม : การตั้งเป้าหมาย SMART GOAL
– การดำเนินการกำหนดตัวชี้วัด ภายใต้ 5 แนวทางในการค้นหาและกำหนดตัวชี้วัด
แนวทางที่ 1 : การกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรและกำหนดตัวชี้วัด
แนวทางที่ 2 : ใช้หลักการของ Balance Scorecard และกำหนดตัวชี้วัด
แนวทางที่ 3 : ใช้หลักการของ Critical Success Factors และกำหนดตัวชี้วัด
แนวทางที่ 4 : ใช้หลักการของ Key Result Area และกำหนดตัวชี้วัด

กิจกรรม : ระดมสมองและหาตัวขับดันที่สำคัญ และกำหนดตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ในระดับองค์กร ตัวชี้วัดระดับฝ่าย ตัวชี้วัดระดับบุคคล
ภาพรวมของการกำหนดตัวชี้วัด และหลักการวิเคราะห์ตัวชี้วัดระดับบุคคล ตัวอย่างและ KPI Dictionary ตัวชี้วัดระดับบุคคล

 

Lunch          : 12:00 -13:00 น.
Session 3    : 13:00 -14:30 น.

 

4. กิจกรรมการกำหนดตัวชี้วัดระดับฝ่ายและการเชื่อมโยงความสำเร็จของฝ่ายต่างๆ

เป้าหมายกิจกรรม :
– เพื่อพัฒนามุมมองการกำหนดตัวชี้วัดระดับฝ่ายได้อย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร
– เพื่อให้มีกำหนดตัวชี้วัดในระดับฝ่ายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและชัดเจน

รูปแบบกิจกรรม :
– แบ่งกลุ่มและระดมความคิดในการกำหนดตัวชี้วัดในระดับฝ่ายและกำหนดการประเมินผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร

 

5. กิจกรรมการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลและผู้ปฏิบัติงาน
เป้าหมายกิจกรรม :
– เพื่อพัฒนามุมมองการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลได้อย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของฝ่าย
– เพื่อให้มีกำหนดตัวชี้วัดในระดับบุคคลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและชัดเจน

รูปแบบกิจกรรม :
– กำหนดตัวชี้วัดในระดับบุคคลและกำหนดการประเมินผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร

 

Break          14.30-14.45 น.
Session 4   : 14:45-16:00 น.

 

6. การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อความสอดคล้องกับ KPI
วัตถุประสงค์ในการบรรยาย :
– เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการของการนำตัวชี้วัดไปกำหนดการประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทในการกำหนดตัวชี้วัดต่างๆในองค์กร โดยเฉพาะ ในระดับบุคคลซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในระดับปฏิบัติการและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร

เนื้อหาในการบรรยาย :
– หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงาน
– การกำหนดดัชนีชี้วัดให้สอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับบุคคล
– ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับบุคคล
– บทบาทผู้เกี่ยวข้องในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

 

7. กิจกรรมการเสนอผลงานการกำหนดตัวชี้วัดระดับฝ่ายและระดับบุคคล
เป้าหมายกิจกรรม :
– เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับการกำหนดตัวชี้วัดในระดับฝ่าย
– เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับการกำหนดตัวชี้วัดในระดับบุคคล

กิจกรรม

– แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน (ในกรณีมีระดับฝ่ายงาน) และนำเสนอระดับบุคคล
– วิทยากรตรวจสอบความสอดคล้องและความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะ

 

8. Expertise & Q/A

 

รูปแบบการฝึกอบรม

การฝึกอบรมมีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย เพลิดเพลิน โดยมีความลึกซึ้งเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ยอมรับ และนำไปปฏิบัติตาม อีกทั้งตรงตามเป้าหมายที่ทางองค์กรได้กำหนดไว้

1. การบรรยายแบบผู้อบรมมีส่วนร่วม Participative Technique

2. ฝึกปฏิบัติทีละขั้นตอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับท่านอื่นๆ (Work Shop)

3. วิทยากรกระตุ้นให้ความคิดและให้มีส่วนร่วมในการฝึกอบรม

4. แสดงการสาธิตจำลองให้เกิดการพัฒนา (Adult Learning Approach Role Playing)

 

ระยะเวลาการจัดสัมมนา

เพื่อให้ครอบคลุม ถึงเนื้อหาสาระของเนื้อหาทางวิชาการ และ Workshop อบรม 1 วันเต็ม

 

สนใจหลักสูตรฝึกอบรมสัมมนาหรือจัดกิจกรรม

สถาบันฝึกอบรมสัมมนา The Best Training (ศูนย์ฝึกอบรมความเป็นเลิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ)
77/291 ซอยพหลโยธิน 54/1แยก4-45 (หมู่บ้านชลลดา) แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220

 

ติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 

 02-043-5605, 081-3582683, 081-6285569, 081-8082683

 thebesttraining5.0@gmail.com

www.thebest-training.com